วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

วิทยาศาสตร์ (ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์ )





ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์





ดาวพุธ (Mercury)  ดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งกินเวลาเพียง 44 วันหรือราวเดือนครึ่ง เราจะมองเห็นดาวพุธได้ในระดับต่ำทางของฟ้าตะวันออกหรือขอบฟ้าตะวันตกเท่านั้น ตำแหน่งที่เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ดีที่สุดคือตำแหน่งที่เรียกว่า Greatest Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์
 
ดาวศุกร์(Venus) ดาวเคราะห์วงในอีกดวงที่มีเราจะเห็นได้เพียงทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก หรือ ตะวันตก เท่านั้นแบบเดียวกับดาวพุธ  มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224 วันครึ่ง หรือราว 7 เดือนครึ่ง น้อยกว่าโลกของเราเล็กน้อย ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจากซีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกด้านหนึ่งนั้นค่อยข้างนานเมื่อเทียบกับตำแหน่งของโลก กินเวลาราวๆ 9 เดือนครึ่งแตกต่างจากดาวพุธ ทำให้ใน 1 รอบปี ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยครั้งกว่าดาวพุธ  และเช่นเดียวกับดาวพุธตำแหน่งที่เราจะเห็นดาวศุกร์ได้ดีที่สุดคือตำแหน่ง Greatest Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์ แต่ดาวศุกร์มีตำแหน่งมุมบนขอบฟ้าสูงกว่าดาวพุธคืออยู่ได้สูงสุด 48 องศา  ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งช้า ทำให้เราสามารถเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าได้

ดาวอังคาร (Mars)   ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ เราจึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก ต่างจากดาวพุธดาวศุกร์ที่เราจะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น    สิ่งที่เราสนใจมองจากดาวอังคารคือ ขั้วน้ำแข็งและแถบพายุฝุ่นสีดำ เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งใสสามามารถมองทะลุผ่านได้ดี จึงเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้ จนเป็นที่น่าสนใจมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เริ่มมีการประดิษฐ์
กล้องโทรทรรศน์ขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

สังคมศึกษา (10 ประเทศอาเซียน)

 รู้จักกับ 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ










คำทักทายอาเซียน





ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน  โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และ
ประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ