ความรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์
ดาวพุธ (Mercury) ดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุด
มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน
ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งกินเวลาเพียง
44 วันหรือราวเดือนครึ่ง เราจะมองเห็นดาวพุธได้ในระดับต่ำทางของฟ้าตะวันออกหรือขอบฟ้าตะวันตกเท่านั้น
ตำแหน่งที่เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ดีที่สุดคือตำแหน่งที่เรียกว่า Greatest
Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์(Venus) ดาวเคราะห์วงในอีกดวงที่มีเราจะเห็นได้เพียงทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก
หรือ ตะวันตก เท่านั้นแบบเดียวกับดาวพุธ
มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224 วันครึ่ง หรือราว 7 เดือนครึ่ง น้อยกว่าโลกของเราเล็กน้อย ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจากซีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกด้านหนึ่งนั้นค่อยข้างนานเมื่อเทียบกับตำแหน่งของโลก
กินเวลาราวๆ 9 เดือนครึ่งแตกต่างจากดาวพุธ ทำให้ใน 1 รอบปี ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยครั้งกว่าดาวพุธ
และเช่นเดียวกับดาวพุธตำแหน่งที่เราจะเห็นดาวศุกร์ได้ดีที่สุดคือตำแหน่ง Greatest
Elongation หรือตำแหน่งสูงสุดทางปีกของดวงอาทิตย์
แต่ดาวศุกร์มีตำแหน่งมุมบนขอบฟ้าสูงกว่าดาวพุธคืออยู่ได้สูงสุด 48 องศา
ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งช้า ทำให้เราสามารถเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าได้
ดาวอังคาร (Mars) ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์
1 ปี 11 เดือน
ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ
เราจึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก
ต่างจากดาวพุธดาวศุกร์ที่เราจะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น สิ่งที่เราสนใจมองจากดาวอังคารคือ
ขั้วน้ำแข็งและแถบพายุฝุ่นสีดำ
เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งใสสามามารถมองทะลุผ่านได้ดี
จึงเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้
จนเป็นที่น่าสนใจมาตั้งแต่ยุคสมัยที่เริ่มมีการประดิษฐ์
อ้างอิง. http://www.youtube.com/watch?v=03GZe_sy4aE
กล้องโทรทรรศน์ขึ้น
ดาวเคราะห์น้อย
อ้างอิง. http://www.youtube.com/watch?v=03GZe_sy4aE
ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่
มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา
11 ปี 11 เดือน หรือ ราว 12 ปี ทำให้ดาวพฤหัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้าๆปีละ
1 จักราศี ดาวพฤหัสมีสิ่งที่เราสนใจมองผ่านกล้องดูดาวก็คือ
จุดแดงยักษ์ (Great Res Spot) หรือ GRS ซึ่งเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดราว 3
เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก GRS จะมีลักษณะเป็นจุดสีแดงเข้มแต่เห็นได้ยากจากกล้องขนาดเล็ก บางครั้งอาจจะต้องใช้ฟิลเตอร์สีช่วย GRS มีการเปลี่ยนไปตามการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสทุกๆ
10 ชั่วโมงโดยประมาณ ดังนั้นการสังเกตจะต้องหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมด้วย ดวงจันทร์กาลิเลียน หรือ
ดวงจันทร์ 4 ดวงใหญ่ของดาวพฤหัส คือ ไอโอ
ยูโรป้า แกนิมีด และ คาลิสโต ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากกล้องดูดาวขนาดเล็กที่มีกำลังขยายตั้งแต
30 เท่าขึ้นไป
สิ่งที่น่าสนใจคือการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ทั้ง 4 ซึ่ง ไอโอ และ
ยูโรป้า ดวงจันทร์วงในสุดจะมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่เร็วมาก
ดาวเสาร์ (Saturn) ดาวเคราะห์วงนอกลำดับถัดมาต่อจากดาวพฤหัส
และเป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 29.5 ปี
จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งในกลุ่มดาวจักราศีอย่างช้าประมาณ 2 ปี ต่อ 1
จักราศีขึ้นอยู่กับอาณาเขตของจักราศีกว้างแค่ไหน
สิ่งที่เราสนใจดูจากดาวเสาร์คือ วงแหวน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของก้อนหิน
ฝุ่นและก้อนน้ำแข็ง ที่หนาเพียง 10 กิโลเมตร
แต่มีรัศมีกว้างหลายแสนกิโลเมตร
มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้มองเห็นได้จากบนโลก
ดาวยูเรนัส(Uranus) ดาวเคราะห์อันดับ 7 ของระบบสุริยะ
ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 84 ปี
นั่นหมายความว่าดาวยูเรนัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักราศี 1 ราศีกินเวลาประมาณ 7
ปีโดยเฉลี่ย ดาวยูเรนัสมีความสว่างปรากฏ
5.85 ซึ่งเป็นความสว่างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าที่มืดสนิท
แต่จะกลมกลืนไปกับดาวอื่นบนท้องฟ้าทำให้มองเห็นได้ลำบากถ้าไม่รู้ตำแหน่งที่แท้จริง
ซึ่งกล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กก็สามารถมองเห็นได้
ดาวเนปจูน(Neptune) ดาวเนปจูนมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 165 ปี
จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักราศีช้ามากคือราว 14 ปีต่อ 1จักราศี ดาวเนปจูน มีความสว่างปรากฏ 7.8
มองเห็นได้ลำบากต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาดตั้งแต่ 6
นิ้วขึ้นไปและต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนด้วย
อ้างอิง.http://www.darasart.com/planet2day/planet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น